ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient Ischemic Attack)
อาการสมองขาดเลือดชั่วคราวคือ สัญญาณเตือนล่วงหน้าของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่สามารถเกิดขึ้นกับทุกคนโดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ
Click เพื่ออ่านต่อ
เมื่อมีอายุมากขึ้นระบบการทำงานของร่างกายจะเสื่อมถอยลง ส่งผลให้การรับความรู้สึกช้าลง การมองเห็นไม่ชัดเจน การทรงตัวไม่ดี และขาดความกระฉับกระเฉง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางเรื่องการประมวลผล ความเป็นเหตุผล การตัดสินใจและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บหกล้มได้บ่อยกว่าผู้สูงอายุทั่วไป เมื่อเกิดการหกล้มแล้ว หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีก็มีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง (bedridden) ได้
เมื่อผู้สูงอายุหกล้มและมีอาการบาดเจ็บ ครอบครัวมักคิดว่าให้นอนพักประมาณ 2 – 3 วัน ก็หาย จึงไม่พาผู้สูงอายุไปพบแพทย์ บางคนปล่อยเวลานานกว่านั้นจนผู้สูงอายุมีปัญหาติดเตียง หรือ เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ จนยากต่อการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาใกล้เคียงเดิม สิ่งที่ผู้ดูแลหรือครอบครัวควรทำหากผู้สูงอายุหกล้ม คือ พาผู้สูงอายุไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูสภาพร่างกายว่ามีอาการบาดเจ็บส่วนไหนหรือไม่เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที นอกจากการรักษาอาการบาดเจ็บแล้ว ผู้ป่วยต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่จะทำได้เพื่อให้อาการต่างๆ ดีขึ้น
การกระตุ้นผู้ป่วยให้เคลื่อนไหวร่างกาย
นอกจากนี้การจัดสิ่งแวดล้อมก็มีความสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวบ่อยขึ้น เช่น ให้ผู้สูงอายุเดินไปรับประทานอาหารที่โต๊ะแทนที่จะเป็นบนเตียง เดินไปขับถ่ายในห้องน้ำแทนการใช้ผ้าอ้อม รวมทั้งจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย เช่น พื้นไม่ลื่น ไม่มีสิ่งกีดขวาง แสงสว่างเพียงพอ มีราวจับในห้องน้ำ เป็นต้น
หากผู้สูงอายุมีปัญหาในการทรงตัว หรือหกล้มบ่อยตั้งแต่ 2 ครั้งต่อปี ครอบครัวควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของการหกล้มและแก้ไข ป้องกันการหกล้มซ้ำ ลดความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บ เช่น กระดูกแตกหักและภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมา
ชนารักษ์ เนอร์สซิ่งโฮม ราชบุรี
โทร 032-240339, 095-487-2839, 096-649-6695
ข้อมูลอ้างอิง: รศ.พญ.ปิยะภัทร เดชพระธรรม คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล