ยาที่ทำให้เสี่ยง “หกล้ม”
ผู้สูงอายุจำนวนมากจำเป็นต้องรับประทานยาหรือใช้ยาหลายชนิดพร้อมกัน ซึ่งยาที่ใช้อยู่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้ผู้สูงอายุหกล้มได้
Click เพื่ออ่านต่อ
ภาวะขาดน้ำ (dehydration) คือ ภาวะที่ร่างกายได้รับน้ำในปริมาณน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ หรือการที่ร่างกายสูญเสียน้ำในปริมาณมากกว่าที่ได้รับ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงระดับที่รุนแรงอันตรายถึงชีวิต แม้ภาวะขาดน้ำสามารถเกิดขึ้นกับทุกวัย แต่ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยที่สภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอย อาการที่แสดงถึงภาวะขาดน้ำจึงไม่ชัดเจน เช่น ไม่ค่อยรู้สึกกระหายน้ำทั้งที่ร่างกายขาดน้ำ นอกจากนี้ผู้สูงอายุอาจดื่มน้ำน้อยเนื่องจากโรคที่เป็น เช่น ภาวะสมองเสื่อมทำให้ลืมดื่มน้ำระหว่างวัน หรือการได้รับยารักษาโรคประจำตัวบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะซึ่งทำให้ร่างกายเสียน้ำมากกว่าปกติ
อาการที่แสดงถึงภาวะขาดน้ำ
ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะขาดน้ำ
ภาวะขาดน้ำเป็นอาการที่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลต้องคอยระมัดระวังและหมั่นสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ผู้สูงอายุควรมีน้ำดื่มไว้ใกล้ตัวเสมอ ดื่มน้ำเมื่อตื่นนอนและทยอยดื่มเรื่อยๆ ในระหว่างวันโดยไม่ต้องรอให้รู้สึกหิวน้ำ และควรหลีกเลี่ยงหรืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ปริมาณน้ำที่ควรดื่มต่อวัน
ปริมาณน้ำดื่มที่เหมาะสมในแต่ละวันสามารถคำนวณจากน้ำหนักตัว ได้แก่
น้ำหนัก (กิโลกรัม) คูณด้วย 2.2 คูณด้วย 30 หารด้วย 2 หารด้วย 1,000 จะได้ปริมาณน้ำเป็นลิตร ตัวอย่างเช่น
น้ำหนัก 50 กิโลกรัม ปริมาณน้ำที่ควรดื่มต่อวันคือ 50 X 2.2 X 30 / 2 / 1,000 = 1.65 ลิตรต่อวัน
อย่างไรก็ตาม บางกรณีผู้สูงอายุอาจต้องการปริมาณน้ำดื่มต่างออกไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล เช่น ผู้ป่วยโรคไตหรือโรคหัวใจอาจต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่ม จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อทราบปริมาณน้ำที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล
ชนารักษ์ เนอร์สซิ่งโฮม ราชบุรี
โทร 032-240339, 095-487-2839, 096-649-6695
อ่านบทความ โรคลมร้อน (Heat stroke) และกลุ่มเสี่ยง:
chanaruk-nursinghome.com/th/health-news/heatstroke/
ข้อมูลอ้างอิง: National Council on Aging [www.ncoa.org]
Image by Freepik