"เตรียมความพร้อมก่อนฝึกเดิน” ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
การฝึกเดิน (Gait training) เป็นส่วนสำคัญของการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง การเตรียมพร้อมก่อนการฝึกจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเดินได้ด้วยตนเองเร็วขึ้นและมีรูปแบบการเดินที่ดี
Click เพื่ออ่านต่อ
โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza หรือ flu) เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูงในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง หรือผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ มักเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงกว่าปกติ
โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่พบบ่อย มักแพร่ระบาดมากกว่าปกติในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคน โดยอาการทั่วไปที่พบ เช่น มีไข้ ไอแห้ง เจ็บคอ มีน้ำมูก และปวดเมื่อยตามตัว ในผู้สูงอายุมีอาการเพิ่มเติมที่สังเกตได้ คือ ภาวะซึม รับประทานข้าวไม่ได้ และสับสน อาการป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุมักมีความรุนแรงมากกว่าคนทั่วไปและอาจพบอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
ความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ
อาการที่ควรพบแพทย์
แม้ไข้หวัดใหญ่สามารถหายเองได้หากผู้ป่วยดูแลตัวเองอย่างดีและพักผ่อนเพียงพอ แต่หากเริ่มมีอาการไข้สูง หายใจเหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยเร่งด่วน ในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวการปล่อยให้เชื้อไข้หวัดใหญ่อยู่ในร่างกายเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน อีกทั้งเพิ่มระดับความรุนแรงของโรคได้
วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ
โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ผู้สูงอายุควรได้รับวัคซีนเป็นประจำทุกปีเพราะแต่ละปีจะมีการปรับเปลี่ยนวัคซีนให้เหมาะสมกับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในช่วงเวลานั้นๆ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีนคือก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) และก่อนฤดูหนาว (เดือนตุลาคม)
อาการข้างเคียงจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่
ชนารักษ์ เนอร์สซิ่งโฮม ราชบุรี
โทร 032-240339, 095-487-2839, 096-649-6695
ข้อมูลอ้างอิง: โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์