ยาที่ทำให้เสี่ยง “หกล้ม”

โดยทั่วไปผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะหกล้มและได้รับอันตรายจากการหกล้มมากกว่าวัยอื่น เนื่องจากความเสื่อมของร่างกายผู้สูงอายุเอง เช่น กระดูก สายตา และกล้ามเนื้อต่างๆ ทำให้สูญเสียการทรงตัวได้ง่าย นอกจากความเสื่อมของร่างกายแล้วปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการหกล้มที่พบบ่อยคือ ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาท ลดการรับความรู้สึก ทำให้ง่วงซึม และยาที่มีผลต่อการมองเห็น เป็นต้น โดยรายการยาที่ไม่เหมาะสม จำนวนชนิดของยาที่มากเกินความจำเป็น และขนาดของยาที่สูงเกินไปเป็นสาเหตุของการหกล้มที่พบบ่อยสุด

กลุ่มยาที่ผู้สูงอายุควรระมัดระวังในการใช้เป็นพิเศษ

  1. ยาลดความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะยาที่มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด เช่น Atenolol, Carvedilol, และ Prazosin
  2. ยาขับปัสสาวะ เช่น Furosemide, Hydrochlorothiazide, และ Spironolactone
  3. ยาแก้แพ้ แก้หวัดรุ่นเก่า เช่น Chlorpheniramine, Brompheniramine, และ Triprolidine
  4. ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น Orphenadrine, และ Tolperisone
  5. ยาแก้ปวดลดการอักเสบ เช่น Ibuprofen, Naproxen, Piroxicam และยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์เสพติด เช่น Codeine, และ Tramadol
  6. ยารักษาอาการชักและอาการปวดเส้นประสาท เช่น Phenytoin, Valproate, Levitiracetam, Carbamazepine, Gabapentin, และ Pregabalin
  7. ยาคลายวิตกกังวล ยานอนหลับ เช่น Diazepam, Lorazepam, Clorazepate, Chlordiazepoxide, และ Amitriptyline
  8. ยาบรรเทาอาการเวียนหัวบ้านหมุน เช่น Flunarizine และ Cinnarizine
  9. ยารักษาอาการปัสสาวะขัด เช่น Tamsulosin และ Terazosin
  10. ยารักษาอาการทางจิต เช่น Haloperidol และ Olanzapine

ผู้สูงอายุมักได้รับยาหลายชนิดพร้อมกันและมีความไวต่ออาการข้างเคียงของยา ผู้ดูแลรวมทั้งครอบครัวจึงควรระมัดระวังในการใช้ยาในกลุ่มข้างต้นเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุหกล้ม  

ชนารักษ์ เนอร์สซิ่งโฮม ราชบุรี
โทร 032-240339, 095-487-2839, 096-649-6695

อ่านบทความ วิธีป้องกันไม่ให้เป็นผู้ป่วยติดเตียง (bedridden) :
https://www.chanaruk-nursinghome.com/th/health-news/bedridden-prevent/

ข้อมูลอ้างอิง : กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Image by Freepik

สาระสุขภาพอื่น ๆ