อาหารสำหรับผู้มีภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia Diet)
โภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญต่อการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก
Click เพื่ออ่านต่อ
ความจำถดถอยเป็นอาการที่พบในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การรักษาด้วยยาเป็นเพียงการชะลอความเสื่อมเพื่อทำให้การรู้คิดหรือความจำที่ถดถอยดำเนินช้าลงเท่านั้น ขณะที่งานวิจัยทางการแพทย์พบว่า ดนตรีสามารถช่วยกระตุ้นความทรงจำและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
หลายครั้งที่เพลงบางเพลงทำให้เรานึกถึงภาพเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ เช่น เมื่อได้ยินเพลงที่คุณยายเคยร้องกล่อมเรา ภาพความทรงจำสมัยเด็กก็จะย้อนกลับมา เนื่องจากเพลงสามารถกระตุ้นอารมณ์ซึ่งเชื่อมกับความทรงจำส่วนตัวของเรา เมื่อเวลาผ่านไปความทรงจำส่วนตัวเหล่านั้นจะกลายเป็นความทรงจำระยะยาว ขณะที่เพลงเพลงนั้นยังคงเชื่อมความทรงจำและสามารถกระตุ้นให้เราเกิดอารมณ์ที่เชื่อมกับความทรงจำนั้นด้วย ข้อมูลทางการแพทย์พบว่า แม้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะสูญเสียความสามารถของสมองและความทรงจำไปแล้ว แต่ความสามารถในการรับรู้ดนตรียังคงมีอยู่
นอกจากนี้ งานวิจัยหลายชิ้นในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์พบว่า เพลงทำให้สมองผู้ป่วยตื่นตัวในหลาย ๆ จุด ทั้งส่วนการรับฟัง ส่วนการเคลื่อนไหว และส่วนของอารมณ์ เพราะเสียงเพลงประกอบด้วยจังหวะดนตรีและเนื้อร้องที่มีการสัมผัสอักษรซึ่งทำงานร่วมกันในการช่วยกระตุ้นศักยภาพของสมองส่วน Hippocampus และเนื้อเยื่อสมองส่วนหน้าที่รับผิดชอบด้านการกระตุ้นและเรียบเรียงความทรงจำ ทำให้สมองสามารถดึงความทรงจำออกมาได้ง่ายขึ้น ผู้ป่วยจำนวนมากได้ประโยชน์จากการฟังเพลงที่ตนเองชอบ โดยแต่ละรายจะมีการตอบสนองต่อดนตรีต่างกันไปขึ้นอยู่กับการเสื่อมของสมองส่วนของการรับรู้
ตัวอย่างผลลัพธ์ของการใช้ดนตรีบำบัดในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
ชนารักษ์ เนอร์สซิ่งโฮม ราชบุรี
โทร 032-240339, 095-487-2839, 096-649-6695
อ่านบทความ ฝึกสมองชะลอความเสื่อมผ่านประสาทสัมผัส (Sensory Brain Exercises) :
https://www.chanaruk-nursinghome.com/th/health-news/sensory-brain-exercises
ข้อมูลอ้างอิง:
- Harvard Health Publishing, Havard Medical School
- Music & memory <