ภาวะซึมเศร้าหลังโรคหลอดเลือดสมอง (Post-stroke Depression)

ภาวะซึมเศร้า (depression) เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและเพิ่มโอกาสเกิดภาวะทุพพลภาพ

อาการทั่วไปของภาวะซึมเศร้า

  • มีอารมณ์เศร้า วิตกกังวล หรือรู้สึก "ว่างเปล่า" ต่อเนื่อง
  • กระวนกระวายใจและหงุดหงิด
  • รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกผิด ไร้ค่าหรือไร้ประโยชน์
  • สูญเสียความสนใจหรือความสุขในงานอดิเรกและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยชอบ
  • พลังงานถดถอย เหนื่อยล้า และรู้สึกตนเอง “ช้าลง”
  • ลำบากในการตั้งสมาธิ จดจำและตัดสินใจ
  • การนอนผิดปกติ นอนไม่หลับ นอนมากหรือตื่นเช้าเกิน
  • ความอยากอาหารและ/หรือน้ำหนักเปลี่ยนแปลงจากปกติ
  • คิดเรื่องความตาย การฆ่าตัวตาย หรือการพยายามฆ่าตัวตาย

ภาวะซึมเศร้าส่งผลต่อชีวิตประจำวันและความสามารถในการรู้คิดของผู้ป่วย รวมทั้งเป็นอุปสรรคต่อการรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเคลื่อนไหวและการสื่อสาร ส่งผลให้กระบวนการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความลำบากมากขึ้น ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา การรักษาที่เหมาะสมไม่เพียงทำให้อารมณ์ของผู้ป่วยดีขึ้นแต่ยังช่วยฟื้นฟูร่างกาย ความรู้ความเข้าใจ และสติปัญญาอีกด้วย

นอกจากนี้ การสนับสนุนจากครอบครัวก็มีความสำคัญควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์ โดยการศึกษาหลายชิ้นพบว่า ภาวะซึมเศร้ามักเกิดกับผู้ป่วยที่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวในระดับต่ำ ดังนั้นครอบครัวและทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูควรตระหนักถึงภาวะซึมเศร้า การเข้าใจถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะทำให้เข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น ความเครียดและความกังวลลดลง พร้อมที่จะตอบสนองต่ออาการซึมเศร้าอย่างเหมาะสมส่งผลให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพ การรักษาและการให้ความช่วยเหลือจากครอบครัวจึงช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ในที่สุด

ชนารักษ์ เนอร์สซิ่งโฮม ราชบุรี
โทร 032-240339, 095-487-2839, 096-649-6695

อ่านบทความ การดูแลจิตใจผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : https://www.chanaruk-nursinghome.com/th/health-news/stroke_mindcare/


ข้อมูลอ้างอิง : American Stroke Association
Image by Freepik

สาระสุขภาพอื่น ๆ