รู้จักการบริบาลเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้าย (Hospice Care)
Hospice Care เป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเพื่อให้ผู้ป่วยไม่ทุกข์ทรมาน และเสียชีวิตอย่างสงบ
Click เพื่ออ่านต่อ
“ภาวะกลืนลำบาก” เป็นภาวะที่ร่างกายมีปัญหาในการเคี้ยวและกลืนอาหาร สามารถพบในผู้สูงอายุทั่วไปและผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทหรืออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการกลืน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน มะเร็งในช่องปาก ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น การขาดสารอาหารและน้ำ สำลักอาหาร การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การบริหารกล้ามเนื้อที่ช่วยในการกลืนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยจะเป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนเพื่อประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวและการกลืนอาหารลงคอ ลดความเสี่ยงต่อการสำลักอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพในการพูด สื่อสาร และการออกเสียง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง และภาวะขากรรไกรติดแข็ง
การบริหารออกกำลังกล้ามเนื้อปากและลิ้น
1. ท่าบริหารกล้ามเนื้อรอบริมฝีปาก (ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกักเก็บน้ำและอาหารภายในช่องปากไม่ให้อาหารหกขณะกลืน)
2. ท่าบริหารกลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร (ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกัด การเคี้ยวและการบดอาหาร)
3. ท่าบริหารกล้ามเนื้อบริเวณแก้ม (ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดูดน้ำหรืออาหาร)
4. ท่าบริหารกลุ่มกล้ามเนื้อลิ้น (ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคลุกเคล้าอาหารภายในช่องปาก การดันอาหารที่คลุกเคล้าแล้วเข้าไปยังคอและหลอดอาหาร)
เมื่อพบปัญหาภาวะกลืนลำบาก ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและควรได้รับคำแนะนำจากนักกิจกรรมบำบัดเพื่อให้สามารถกลืนได้อย่างปลอดภัย
การบำบัดฟื้นฟูภาวะกลืนลำบากโดยนักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapist)
ชนารักษ์ เนอร์สซิ่งโฮม ราชบุรี
โทร 032-240339, 095-487-2839, 096-649-6695
ข้อมูลอ้างอิง: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, และ ก.บ.ศศิชา จันทร์วรวิทย์ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล