โรคหลงลืมชั่วคราว (Transient Global Amnesia)
โรคหลงลืมชั่วคราวเป็นภาวะที่บุคคลสูญเสียความทรงจำอย่างเฉียบพลัน
Click เพื่ออ่านต่อ
กายภาพบำบัด (Physical therapy : PT) และกิจกรรมบำบัด (Occupational therapy : OT) เป็นศาสตร์ในสาขาวิทยาศาสตร์การฟื้นฟูที่มีทั้งความคล้ายคลึงและแตกต่างกันอย่างชัดเจน ความแตกต่างเบื้องต้นระหว่างกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดคือ กายภาพบำบัดมุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูความสามารถของผู้ป่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย ขณะที่กิจกรรมบำบัดมุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูความสามารถของผู้ป่วยในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรืออาจพูดได้ว่ากายภาพบำบัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ส่วนกิจกรรมบำบัดเป็นเรื่องของการดูแลสุขภาพจิตและฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายไปด้วยกัน
กิจกรรมบำบัด (OT)
การทำงานของนักกิจกรรมบำบัด (Occupational therapist) จะมุ่งเน้นที่การปรับตัว ปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงกิจกรรมที่บุคคลจำเป็นต้องทำหรืออยากทำ เช่น ปรับเปลี่ยนกิจกรรมประจำวัน สภาพแวดล้อมหรือทักษะของบุคคล โดยในระดับทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills) ของบุคคลนักกิจกรรมบำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวที่เป็นการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ ของร่างกายส่วนบนที่จำเป็นต่อการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การหยิบแปรงสีฟัน การแปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว การใช้ส้อมและมีดตัดอาหาร การใช้สมาร์ทโฟน หรือการขับรถ หากผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพจิตนักกิจกรรมบำบัดอาจพัฒนาทักษะโดยเพิ่มการใช้กลยุทธ์การรับมือเชิงบวกที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทำงานหรือประสบความสำเร็จในการเรียนได้
นักกิจกรรมบำบัด คือนักแก้ปัญหาที่ช่วยให้ชีวิตผู้คนดีขึ้น ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้หลังได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งช่วยให้ผู้ที่มีความล่าช้าทางสติปัญญาหรือพัฒนาการสามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตประจำวัน นักกิจกรรมบำบัดจะใส่ใจตัวบุคคลและพัฒนาวิธีการรักษาเฉพาะบุคคล โดยคำนึงถึงปัจจัยทางร่างกาย อารมณ์ และสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมและประสิทธิผลในการทำกิจกรรม
กายภาพบำบัด (PT)
การทำงานของนักกายภาพบำบัด (Physical therapist) จะมุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูความสามารถในการเคลื่อนไหว ลดความเจ็บปวด และพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายโดยรวม ส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองและป้องกันความพิการ นักกายภาพบำบัดเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเคลื่อนไหวที่พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการออกกำลังกายตามที่กำหนด การดูแลอย่างใกล้ชิดและการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย เป็นนักแก้ปัญหาที่มีความกระตือรือร้นในการทำให้ผู้ป่วยกลับมายืน นั่ง หรือเดินได้อีกครั้ง
นักกายภาพบำบัดมักจะทำงานร่วมกับผู้ป่วยที่อาจฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บที่ส่งผลต่อทักษะการเคลื่อนไหว โดยไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะการฟื้นฟูสมรรถภาพเท่านั้นแต่รวมถึงการป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติมด้วย เพราะการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพและไร้ความเจ็บปวดมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิต นักกายภาพบำบัดยังสร้างและพัฒนาแผนการรักษาเพื่อปรับปรุงการเคลื่อนไหว ช่วยให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการผ่าตัดหรือใช้ยาแก้ปวด นักกายภาพบำบัดเข้าใจแง่มุมทางอารมณ์ของการฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บจึงมักจะเป็นผู้ให้กำลังใจที่สำคัญแก่ผู้ป่วย
ชนารักษ์ เนอร์สซิ่งโฮม ราชบุรี
โทร 032-240339, 095-487-2839, 096-649-6695
อ่านบทความ วิธีป้องกันไม่ให้เป็นผู้ป่วยติดเตียง (bedridden) :
https://www.chanaruk-nursinghome.com/th/health-news/bedridden-prevent/
ข้อมูลอ้างอิง :
Massachusetts College of Pharmacy and Health Sciences