ดนตรีกระตุ้นความทรงจำผู้ป่วยอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
การรักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ด้วยยาเป็นเพียงการชะลอความเสื่อมของสมองให้ความจำที่ถดถอยดำเนินช้าลง ขณะที่ดนตรีช่วยกระตุ้นความทรงจำและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Click เพื่ออ่านต่อ
ความสามารถในการกลืนอาหารลดลงหรือ “ภาวะกลืนลำบาก” (Dysphagia) คือหนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืนหรือโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคทางระบบประสาท โรคทางจิตเวช รวมถึงโรคที่ทำให้กล้ามเนื้อมีภาวะเกร็ง ผู้สูงอายุที่มีภาวะหรือโรคต่างๆ เหล่านี้จะพบภาวะกลืนลำบากได้สูงถึง 50-75% และอาจมีภาวะสำลักเงียบร่วมด้วยถึง 40 – 70 % ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบติดเชื้อรุนแรงตามมา โดยผู้สูงอายุเกิน 60 ปี มีอัตราการเสียชีวิตด้วยภาวะปอดติดเชื้อจากการสำลักสูงถึงเกือบ 30%
อาการที่บ่งบอกถึงภาวะกลืนลำบาก
อันตรายจากภาวะกลืนลำบาก
Dysphagia อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะขาดสารอาหาร ภาวะขาดน้ำ และน้ำหนักตัวลดเนื่องจากผู้ป่วยมักหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารเพราะกลัวการสำลักหรือรู้สึกว่ากลืนลำบากทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารหรือน้ำไม่เพียงพอ และยังเสี่ยงต่อภาวะปอดอักเสบจากการสำลัก (Aspiration Pneumonia) เพราะอาหารอาจนำเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ปอด รวมทั้งอาการสำลักเนื่องจากอาหารไปปิดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งบางรายอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ภาวะกลืนลำบากยังส่งผลทางสังคมและจิตใจ โดยผู้สูงอายุมักมีความกังวลในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นทำให้ออกห่างจากสังคมเริ่มรับประทานอาหารคนเดียว นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า หดหู่ มีผลทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ไม่อยากอาหาร ยิ่งส่งผลให้สุขภาพโดยรวมทรุดโทรมมากขึ้นได้
การดูแลฟื้นฟู
ผู้มีปัญหาภาวะกลืนลำบากจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและได้รับคำแนะนำจากนักกิจกรรมบำบัดและนักกายภาพบำบัด เพื่อให้สามารถกลืนได้อย่างปลอดภัย โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรมีความรู้ความเข้าใจ เมื่อพบปัญหาภาวะกลืนลำบากจำเป็นต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและได้รับคำแนะนำจากนักกิจกรรมบำบัดเพื่อให้สามารถกลืนได้อย่างปลอดภัย
ชนารักษ์ เนอร์สซิ่งโฮม ราชบุรี
โทร 032-240339, 095-487-2839, 096-649-6695
อ่านบทความเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยภาวะกลืนลำบาก: chanaruk-nursinghome.com/th/health-news/dysphagia-training/
ข้อมูลอ้างอิง: ดร.พญ.กันต์นิษฐ์ พงศ์พิพัฒไพบูลย์ และ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์